การออกแบบนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้

44876446_1914387168676279_3133543061817131008_n

6.1 ความหมาย การออกแบบนวัตกรรมการศึกษา

นวัตกรรมการศึกษา (Educational innovation)

นวัตกรรมการศึกษาก็คือการนำเอานวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในการศึกษาในด้านต่างๆ เช่น การพัฒนารูปแบบสื่อการเรียนการสอน การแก้ปัญหาทางการศึกษา เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการเรียนการสอนและยังส่งผลไปถึงผู้เรียนให้สามารถเกิดการเรียนรู้ที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูงขึ้นกว่าเดิม ทำให้เกิดแรงจูงใจในการศึกษาด้วยนวัตกรรมเหล่านั้น และยังทำให้ประหยัดเวลาในการศึกษาเพิ่มขึ้นได้อีก

การออกแบบ (design) การนำเอาความรู้ที่มีอยู่มาวางแผน จัดเป็นกระบวนการในการจัดการเรียนการสอนแต่ละครั้ง โดยให้ผู้เรียนมีความสนใจในเนื้อหาที่นำมาใช้ในการเรียน โดยการออกแบบสื่อการเรียนการสอนแบบต่าง ๆ เช่น การสร้าง ผลิตสื่อการสอนทางเทคโนโลยี การประยุกต์ การนำเสนองานงานที่แปลกใหม่มีความน่าสนใจ รวมทั้งการสร้างกลยุทธ์ในการสอน เพื่อให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์สูงสุดในการเรียน การออกแบบมีองค์ประกอบดังนี้

1.1 การออกแบบระบบการสอน (Instructional systems design)

1.2 ออกแบบสาร (message design)

1.3 กลยุทธ์การสอน (instructional strategies)

1.4 ลักษณะผู้เรียน (learner characteristics)

  1. 2 ประเภทนวัตกรรมการศึกษา

ประเภทของนวัตกรรมการศึกษา มี 5 ประเภทได้แก่

มีทั้งประเภทที่เป็นนวัตกรรมแบบใหม่หมดและนวัตกรรมที่เป็นแบบใหม่บางส่วนโดยแบ่งเป็น 5 ประเภท ได้แก่

1.นวัตกรรมด้านสื่อสารการสอน เช่น

–บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

-หนังสืออิเล็คทรอนิค

-บทเรียนCD/VCD

-คู่มือการทำงานกลุ่ม

2.นวัตกรรมด้านวิธีการจัดการเรียนการสอน เช่น

-การสอนแบบร่วมมือ

-การสอนแบบอภิปราย

-วิธีสอนแบบบทบาทสมมุติ

-การสอนด้วยรูปแบบการเรียนเป็นคู่

3.นวัตกรรมด้านหลักสูตร เช่น

-หลักสูตรสาระเพิ่มเติม

-หลักสูตรท้องถิ่น

-หลักสูตรการฝึกอบรม

-หลักสูตรกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

4.นวัตกรรมด้านการวัดและการประเมินผล เช่น

-การสร้างแบบวัดต่างๆ

-การสร้างเครื่องมือ

-การประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์

แนวทางในการสร้างแบบวัดผลและประเมินผลเช่น

-การสร้างแบบวัดแววครู

-การพัฒนาคลังข้อสอบ

-การสร้างแบบวัดความมีวินัยในตนเอง

5.นวัตกรรมด้านการบริหารจัดการ เช่น

-การบริหารเชิงระบบ

-การบริหารเชิงกลยุทธ์

-การบริหารเชิงบูรณาการ

6.3 แนวคิด ทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อการออกแบบนวัตกรรม

1.หลักการและทฤษฎี ทางจิตวิทยาการศึกษา

ทฤษฎีจากกลุ่มพฤติกรรมนิยม

นักจิตวิทยาการศึกษากลุ่มนี้ เช่น chafe Watson Pavlov, Thorndike, Skinner ซึ่งทฤษฎีของนักจิตวิทยากลุ่มนี้มีหลายทฤษฎี เช่น ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory) ทฤษฎีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง (Connectionism Theory) ทฤษฎีการเสริมแรง (Stimulus-Response Theory)

 

ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory) เจ้าของทฤษฎีนี้คือ พอฟลอบ (Pavlov) กล่าว ไว้ว่า ปฏิกิริยาตอบสนองอย่างใดอย่างหนึ่งของร่างกายของคนไม่ได้มาจากสิ่งเร้าอย่าง ใดอย่างหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว สิ่งเร้านั้นก็อาจจะทำให้เกิดการตอบสนองเช่นนั้นได้ ถ้าหากมีการวางเงื่อนไขที่ถูกต้องเหมาะสม ทฤษฎีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง (Connectionism Theory) เจ้าของทฤษฎีนี้ คือ ธอร์นไดค์ (Thorndike) ซึ่ง กล่าวไว้ว่า สิ่งเร้าหนึ่ง ๆ ย่อมทำให้เกิดการตอบสนองหลาย ๆ อย่าง จนพบสิ่งที่ตอบสนองที่ดีที่สุด เขาได้ค้นพบกฎการเรียนรู้ที่สำคัญคือ

  1. กฎแห่งการผล (Law of Effect)
  2. กฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise)
  3. กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness)

แนวคิดของธอร์นไดค์ นักการศึกษาและจิตวิทยาชาวเยอรมัน ผู้ให้กำเนินทฤษฎีแห่งการเรียนรู้ ได้เสนอหลักการ ภารกิจของการสอนของครูไว้ 2 ประการ และเสนอหลักการเบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษาไว้ 5 ประการ

ภารกิจของการสอนของครูไว้ 2 ประการ คือ

  1. ควรจัดเรื่องหรือสิ่งที่จะสอนต่าง ๆ ที่ควรจะไปด้วยกัน ให้ได้ดำเนินไปด้วยกัน
  2. ควรให้รางวัลการสัมพันธ์เชื่อมโยงที่เหมาะสม และไม่ควรให้ความสะดวกใด ๆ ถ้าไม่สามารถสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงที่เหมาะสมขึ้นมาได้

 

หลักการเบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษาและการสอนของเขา ไว้ 5 ประการ คือ

  1. การกระทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเอง (Self – Activity)
  2. การทำให้เกิดความสนใจด้วยการจูงใจ (Interest Motivation)
  3. การเตรียมสภาพที่เหมาะสมทางจิตภาพ (Preparation and Mentalset)
  4. คำนึงถึงเรื่องเอกัตบุคคล (Individualization)
  5. คำนึงถึงเรื่องการถ่ายทอดทางสังคม (Socialization)

ฤษฎีการวางเงื่อนไข/ทฤษฎีการเสริมแรง (S-R Theory หรือ Operant Conditioning)เจ้าของทฤษฎีนี้คือ สกินเนอร์ (Skinner) กล่าว ว่า ปฏิกิริยาตอบสนองหนึ่งอาจไม่ใช่เนื่องมาจากสิ่งเร้าสิ่งเดียว สิ่งเร้านั้นๆ ก็คงจะทำให้เกิดการตอบสนองเช่นเดียวกันได้ ถ้าได้มีการวางเงื่อนไขที่ถูกต้อง

แนวคิดของสกินเนอร์ นำมาใช้ในการสอนแบบสำเร็จรูป หรือการสอนแบบโปรแกรม (Program Inattention) สกินเนอร์เป็นผู้คิดบทเรียนโปรแกรมเป็นคนแรก การนำทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มพฤติกรรมมาใช้กับเทคโนโลยีการศึกษานี้จะ ใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนให้เข้ากับลักษณะดังต่อไปนี้คือ

  1. การเรียนรู้เป็นขั้นเป็นตอน (Step by Step)
  2. การมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ของผู้เรียน (Interaction)
  3. การได้ทราบผลในการเรียนรู้ทันที (Feedback)
  4. การได้รับการเสริมแรง (Reinforcement)

2.หลักการและทฤษฎี เกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษาในแง่ของการเรียนรู้

คาร์เพนเตอร์ และเดล(C.R. Carpenter and Edgar Dale) ได้ประมวลหลักการและทฤษฏีเทคโนโลยีทางการศึกษาในลักษณะของการเรียนรู้ที่มี ประสิทธิภาพ 10 ประการ คือ

1.หลักการจูงใจ สื่อเทคโนโลยีทางการศึกษาจะมีพลังจูงใจที่สำคัญในกิจกรรมการเรียนการสอน เพราะเป็นสิ่งที่สามารถผลักดันจูงใจ มีอิทธิพลต่อพลังความสนใจ ความต้องการ ของผู้เรียน

2.การพัฒนามโนทัศน์ (Concept) ส่วนบุคคล ช่วยส่งเสริมความ คิด ความเข้าใจแก่ผู้เรียนแต่ละคน การผลิตและการใช้วัสดุการเรียนการสอน ควรจะต้องสัมพันธ์กับความสามารถของผู้สอนและผู้เรียน ตลอดถึงจุดมุ่งหมายของการเรียน

3.กระบวนการเลือกและการสอนด้วยสื่อเทคโนโลยี ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติเกี่ยวกับสื่อจะเป็นแบบลูกโซ่ในกระบวนการเรียนการสอน

4.การจัดระเบียบประสบการณ์เทคโนโลยีทางการศึกษา ผู้เรียนจะเรียนได้ดีจากสื่อ เทคโนโลยีที่จัดระเบียบเป็นระบบ และมีความหมายตามความสามารถของเขา

5.การมีส่วนรวมและการปฏิบัติ ผู้เรียนต้องการมีส่วนร่วม และการปฏิบัติด้วยตนเองมากที่ สุด

6.การฝึกซ้ำและการเปลี่ยนแปลงสิ่งเร้าบ่อยๆ สื่อที่สามารถส่งเสริมการฝึกซ้ำและมีการ เปลี่ยนแปลงสิ่งเร้าอยู่เสมอ จะช่วยส่งเสริมความเข้าใจ เพิ่มความคงทนในการจำ

7.อัตราการเสนอสื่อในการเรียนการสอน อัตราหรือช่วงเวลาการเสนอข้อความรู้ต่างๆ จะ ต้องมีความสอดคล้องกับ ความสามารถอัตราการเรียนรู้และประสบการณ์ของผู้เรียน

8.ความชัดเจน ความสอดคล้อง และความเป็นผล สื่อที่มีลักษณะชัดเจน สอดคล้องกับ ความต้องการ ที่สัมพันธ์กับผลที่พึงประสงค์ของผู้เรียนจะทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ดี

9.การถ่ายโยงที่ดี โดยที่การเรียนรู้แบบเก่าไม่อาจถ่ายทอดไปสู่การเรียนรู้ใหม่ได้อย่าง อัตโนมัติ จึงควรจะต้องสอนแบบถ่ายโยงเพราะผู้เรียนต้องการแนะนำในการปฏิบัติ เพื่อประยุกต์ความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน

10.การให้รู้ผลการเรียนรู้จะดีขึ้น ถ้าหากสื่อเทคโนโลยีช่วยให้ผู้เรียนรู้ผลการกระทำทันที หลังจากที่ได้ปฏิบัติกิจกรรมไปแล้ว

แนวคิดของบูเกสสกี (Bugelski) ได้ สนับสนุนว่า การเรียนรู้จะเป็นผลจากการกระทำของผู้เรียน ไม่ใช้กระบวนการถ่ายทอดของผู้สอน หากแต่ผู้สอนเป็นเพียงผู้เตรียมสถานการณ์และจัดระเบียบประสบการณ์ที่ทันสมัย ไว้ให้ เพื่อผู้เรียนจะได้เชื่อมโยงความรู้ใหม่ได้สะดวก ซึ่งหมายถึงว่า เทคโนโลยีทางการศึกษาจะเป็นตัวการประสานความรู้โดยตรงแก่ผู้เรียน

3.ทฤษฎีการรับรู้

เมื่อมีสิ่งเร้าเป็นตัวกำหนดให้เกิดการเรียนรู้ได้นั้นจะต้องมีการรับรู้เกิดขึ้น ก่อน เพราะการรับรู้เป็นหนทางที่นำไปสู่การแปลความหมายที่เข้าใจกันได้ ซึ่งหมายถึงการรับรู้เป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ ถ้าไม่มีการรับรู้เกิดขึ้น การเรียนรู้ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ การรับรู้จึงเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดความคิดรวบยอด ทัศนคติของมนุษย์อันเป็นส่วนสำคัญยิ่งในกระบวนการเรียนการสอนและการใช้สื่อ การสอนจึงจำเป็นจะต้องให้เกิดการรับรู้ที่ถูกต้องมากที่สุด

แนวคิดของรศ.ดร.สาโรช โศภี ได้กล่าวเกี่ยวกับทฤษฎีการรับรู้ว่าการรับรู้เป็นผลเนื่องมาจากการที่มนุษย์ใช้อวัยวะรับสัมผัส (Sensory motor) ซึ่งเรียกว่า เครื่องรับ (Sensory) ทั้ง 5 ชนิด คือ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง การรับรู้จะเกิดขึ้นมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับสิ่งที่มีอิทธิพล หรือปัจจัยในการรับรู้ ได้แก่ ลักษณะของผู้รับรู้ ลักษณะของสิ่งเร้า

แนวคิดของ ฉลองชัย สุรวัฒนบูรณ์ และ วไลพร ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม กล่าวว่า การที่จะเกิดการเรียนรู้ได้นั้นจะต้องอาศัยการรับรู้ที่เกิดจากการเปลี่ยน แปลงพฤติกรรมอันเป็นผลมาจากการได้รับประสบการณ์ การรับรู้มีขบวนการที่ทำให้เกิดการรับรู้ โดยการนำความรู้เข้าสู่สมองด้วยอวัยวะสัมผัส และเก็บรวบรวมจดจำไว้สำหรับเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดมโนภาพและ ทัศนคติ ดังนั้นการมีสิ่งเร้าที่ดีและมีองค์ประกอบของการรับรู้ที่สมบูรณ์ถูกต้อง ก็จะทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีด้วยซึ่งการรับรู้เป็นส่วนสำคัญยิ่งต่อการรับรู้

แนวคิดของ Fleming ให้ข้อเสนอแนะว่ากระบวนการรับรู้ยังสามารถใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอนด้วย มีเหตุผลหลายประการที่นักออกแบบเพื่อการเรียนการสอนจำต้อง รู้และนำหลักการของการรับรู้ไปประยุกต์ใช้กล่าวคือ

1.โดย ทั่วไปแล้วสิ่งต่าง ๆ เช่น วัตถุ บุคคล เหตุการณ์ หรือสิ่งที่มีความสัมพันธ์กัน ถูกรับรู้ดีกว่า มันก็ย่อมถูกจดจำได้ดีกว่าเช่นกัน

2.ใน การเรียนการสอนจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงการรับรู้ที่ผิดพลาด เพราะถ้าผู้เรียนรู้ข้อความหรือเนื้อหาผิดพลาด เขาก็จะเข้าใจผิดหรืออาจเรียนรู้บางสิ่งที่ผิดพลาดหรือไม่ตรงกับความเป็น จริง

3.เมื่อ มีความต้องการสื่อในการเรียนการสอนเพื่อใช้แทนความเป็นจริงเป็นเรื่องสำคัญ ที่จะต้องรู้ว่าทำอย่างไร จึงจะนำเสนอความเป็นจริงนั้นได้อย่างเพียงพอที่จะให้เกิดการรับรู้ตามความ มุ่งหมาย

6.4 แนวคิด และกระบวนการออกแบบนวัตกรรมการศึกษา

44830393_1914385635343099_7516171787084759040_n

ADDIE คือ กระบวนการออกแบบระบบการเรียนการสอน โดยมีขั้นตอนการออกแบบตามรูปแบบ ADDIE (ADDIE Model) โดยอาศัยหลักของวิธีการระบบ (System Approach) ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าสามารถนำไปใช้ออกแบบและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็น CAI/CBT, WBI/WBT หรือ e-Learning เป็นกระบวนการพัฒนารูปแบบการสอนที่นักออกแบบการเรียนการสอนและนักพัฒนาการฝึกอบรมนิยมใช้กันเพื่อการวิเคราะห์, การออกแบบ, การพัฒนา, การดำเนินการให้เป็นผล และการประเมินผลของสารปัจจัย และกิจกรรมการเรียน

 

การออกแบบการสอนมุ่งหมายเพื่อวิธีการสอนที่ยึดถือผู้เรียนเป็นศูนย์กลางมากกว่าวิธีการที่ยึดถือผู้สอนเป็นศูนย์กลาง จนกระทั่งการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิผลเกิดขึ้นเป็นกระบวนการออกแบบการสอนที่กระทำวนซ้ำใหม่ในที่ผลของการประเมินผลเพื่อพัฒนาของแต่ละขั้นตอนที่ชี้แนะให้นักออกแบบการสอนพิจารณากลับไปที่ขั้นตอนก่อนหน้าผลิตผลขั้นสุดท้ายของขั้นตอนหนึ่งๆเป็นผลิตผลเริ่มต้นของขั้นตอนต่อไปซึ่ง ADDIE Modelได้มีลำดับการพัฒนาเป็น 5 ขั้น ซึ่งประกอบด้วย

  1. การวิเคราะห์ (A : Analysis) dynamic, flexible guideline for building
  2. การออกแบบ (D : Design) effective training and performance support
  3. การพัฒนา (D : Development) tools.
  4. การทดลองใช้ (I : Implementation)
  5. การประเมินผล (E : Evaluation)

6.5 การออกแบบ รายละเอียดนวัตกรรม

ในการออกแบบนวัตกรรมการเรียนรู้ประเภทสื่อการสอนผู้ออกแบบต้องคำนึงถึงดังนี้คือ

1.วัตถุประสงค์การเรียนรู้

2.ลักษณะผู้เรียน ความเหมาะสมกับวัย ความสนใจ ระดับชั้น ความรู้ ทักษะ

3.พื้นฐาน และประสบการณ์ของผู้เรียน

4.รูปแบบการเรียนการสอน และการเรียนรู้

5.ธรรมชาติเนื้อหาสาระการเรียนรู้ และวิธีการนำเสนอที่เหมาะสมสภาพการเรียน

6.ทรัพยากรต่าง ๆ เช่น วัสดุอุปกรณ์ ครุภัณฑ์ งบประมาณ ราคานวัตกรรมที่เหมาะสม

โครงสร้างของการออกแบบนวัตกรรม ดังนี้คือ

1.ชื่อนวัตกรรม ผู้พัฒนาควรตั้งชื่อนวัตกรรมให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และเข้าใจง่าย

2.วัตถุประสงค์ของนวัตกรรม การกำหนดวัตถุประสงค์ของนวัตกรรมให้ชัดเจนส่งผลให้ การพัฒนานวัตกรรมนั้น รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

3.ทฤษฎี หลักการ ในการออกแบบนวัตกรรม ผู้พัฒนาต้องพิจารณาทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ซึ่งทฤษฎีการเรียนรู้ถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะใช้ในการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา

4.ส่วนประกอบของนวัตกรรม ในการออกแบบนวัตกรรมผู้พัฒนาต้องพิจารณาส่วนประกอบของนวัตกรรม ว่ามีอะไรบ้าง

5.การนำนวัตกรรมไปใช้และประเมินผล เป็นส่วนที่แสดงความสำเร็จของนวัตกรรม ประกอบด้วย วิธีวัดผล เครื่องมือที่ใช้วัดผล และวิธีการประเมินผลประเภทของนวัตกรรมการเรียนการสอน เมื่อการเรียนการสอนมีลักษณะเป็นระบบ ประกอบด้วยตัวป้อน (Input) กระบวนการ (Process) และผลผลิต (Output) การนำนวัตกรรมมาใช้จัดการเรียนการสอนจึงมีจุดหมายที่จะปรับปรุงหรือเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบการเรียนการสอน

หลักการออกแบบสื่อเพื่อการเรียนรู้ ประกอบด้วย 9 ขั้นตอน ดังนี้

44863291_1914392412009088_6267587792994304000_n

ขั้นตอนที่1 เร้าความสนใจ (Gain Attention)

ขั้นตอนที่2 บอกวัตถุประสงค์ (Specify Objectives)

ขั้นตอนที่ 3 ทวนความรู้เดิม (Activate Prior Knowledge)

ขั้นตอนที่4 การเสนอเนื้อหา (Present New Information)

ขั้นตอนที่ 5 ชี้แนวทางการเรียนรู้ (Guide Learning)

ขั้นตอนที่6 กระตุ้นการตอบสนอง (Elicit Responses)

ขั้นตอนที่ 7 ให้ข้อมูลย้อนกลับ (Provide Feedback)

ขั้นตอนที่8 ทดสอบความรู้ (Access Performance)

ขั้นตอนที่9 การจำและนำไปใช้ (Promote Retention and Transfer)

ดังนั้นในการออกแบบนวัตกรรมการเรียนรู้ผู้ออกแบบต้องคำนึงถึงหลักการข้างต้น เพื่อให้นวัตกรรมนั้นสามารถนำมาใช้ได้ตรงตามวัตถุประสงค์หลัก คือเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการเรียนการสอน และเพิ่มความสามารถในการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้มีประสอทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

6.6 การออกแบบ เครื่องมือศึกษาคุณภาพ และประสิทธิภาพนวัตกรรม

การจัดทำเครื่องมือประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพนวัตกรรมการเรียนการสอน

ขั้นตอนในการจัดทำเครื่องมือประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพของนวัตกรรมมีดังนี้

  1. ศึกษาวัตถุประสงค์ของนวัตกรรมการเรียนการสอนที่สร้างขึ้น
  2. กำหนดเครื่องมือที่ต้องใช้ประกอบการประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพ
  3. ศึกษาแนวทางการสร้างเครื่องมือ
  4. ออกแบบและสร้างเครื่องมือ
  5. ตรวจสอบและผ่านการกลั่นกรองของผู้เชี่ยวชาญ
  6. ศึกษาคุณภาพและประสิทธิภาพของเครื่องมือ
  7. จัดทำเป็นเครื่องมือฉบับจริง

6.7 การออกแบบ การศึกษาคุณภาพ และประสิทธิภาพนวัตกรรม

ขั้นการศึกษาคุณภาพของนวัตกรรมการเรียนการสอนดำเนินการดังนี้

  1. กลั่นกรองเบื้องต้นโดยให้ผู้เรียนและครูผู้สอนกลุ่มสาระนั้นอ่านเพื่อตรวจสอบข้อบกพร่อง และปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสม
  2. นำนวัตกรรมการเรียนการสอนที่ปรับปรุงแก้ไขเรียบร้อยแล้วให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3-5 คน ประเมินเพื่อตรวจสอบคุณภาพ และให้ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงนวัตกรรม
  3. วิเคราะห์ผลการประเมินของผู้เชี่ยวชาญเพื่อดูว่ามีคุณภาพอยู่ในระดับใด และปรับปรุงข้อบกพร่องตามข้อเสนอแนะ
  4. จัดทำเป็นนวัตกรรมการเรียนการสอนที่พร้อมสำหรับนำไปทดลองใช้

 

การศึกษาประสิทธิภาพของนวัตกรรมการเรียนการสอนดำเนินการดังนี้

  1. นำนวัตกรรมการเรียนการสอนที่ผ่านการตรวจสอบและประเมินคุณภาพของผู้เชี่ยวชาญแล้ว ไปทดลองใช้กับผู้เรียนที่มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับกลุ่มเป้าหมายของการแก้ปัญหาหรือพัฒนา ตามรูปแบบและวิธีการที่กำหนด
  2. นำผลการทดลองมาคำนวณหาประสิทธิภาพของนวัตกรรมการเรียนการสอนโดยใช้สูตร E1/E2

6.8 การออกแบบ เครื่องมือการนำนวัตกรรมไปใช้

นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่โรงเรียนนำมาใช้

1) ใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนการสอนเพื่อให้นักเรียน เรียนศิลปะโดยการหัดวาดรูป ใช้โปรแกรม Microsoft Word โปรแกรม Microsoft Excel โปรแกรม Microsoft PowerPoint

2) ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ( Computer Assisted Instruction ) หรือ ( CAI ) เป็นกระบวนการเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์นำเสนอเนื้อหาเรื่องราวต่าง ๆ มีลักษณะเป็นการเรียนโดยตรง และเป็นการเรียนแบบมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive)

3) นักเรียนสามารถใช้ค้นหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตศึกษาค้นคว้าข้อมูลในแต่ละกลุ่มสาระข่าวสารทางวิชาการอื่น จากที่ต่าง ๆ

4) จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic ) หรือ ( E-mail ) เพื่อใช้รับส่งข่าวสาร ข้อมูล รูปภาพ และส่งงานให้ครูตรวจในแต่ละกลุ่มสาระ

5) นำระบบ e-Learning มาใช้ในการเรียนการสอนในกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์

นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่โรงเรียนควรนำมาใช้

1) การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Learning ) หรือ E-Learning การศึกษาเรียนรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ต(Internet) หรืออินทราเน็ต(Intranet) เป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ผู้เรียนจะได้เรียนตามความสามารถและความสนใจของตน โดยเนื้อหาของบทเรียนซึ่งประกอบด้วย ข้อความ รูปภาพเสียง วิดีโอและมัลติมีเดียอื่นๆ จะถูกส่งไปยังผู้เรียนผ่าน Web Browser โดยผู้เรียน ผู้สอน และ เพื่อนร่วมชั้นเรียนทุกคน สามารถติดต่อ ปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้เช่นเดียวกับ การเรียนในชั้นเรียนปกติ โดยอาศัยเครื่องมือการติดต่อ สื่อสารที่ทันสมัย(e-mail, web-board, chat) จึงเป็นการเรียนสำหรับทุกคน, เรียนได้ทุกเวลา และทุกสถานที่ (Learn for all : anyone, anywhere and anytime)

2) ห้องเรียนอัจฉริยะ ( Electronic Classroom ) หรือ E-Classroom เป็นการจัดระบบบริหารจัดการห้องเรียน ที่ใช้การเรียนการสอนแบบ On-Line 3) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ( E- Book ) และห้องสมุด อิเล็กทรอนิกส์ ( E- Library ) เพื่อเสริมการเรียนการสอน ให้แก่นักเรียน ครู และสำหรับสถานศึกษาที่สอนในระดับประถมปลาย เนื่องจากเด็กวัยนี้กำลังอยากรู้อยากเห็นและอยากพิสูจน์ความสามารถของตนเอง 4) การสอนบนเว็บ ซึ่งสามารถใช้ได้กับทุกวิชาโดยอาจจะใช้สอนทั้งรายวิชาหรือเพื่อประกอบเนื้อหาวิชาการสอน แบ่งได้เป็น 5 รูปแบบ คือ1) ใช้เว็บทั้งวิชา 2) ใช้เว็บเสริม3) การใช้ทรัพยากรต่าง ๆ บนเว็บเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหา4) ห้องเรียนเสมือน5) การจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม

แนวทางการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาในโรงเรียน

ขั้นตอนการนำมาใช้ในโรงเรียน ประกอบด้วยขั้นตอน 6 ขั้นดังนี้

  1. จัดทำแผนการนำเทคโนโลยี มาใช้ต้องให้ผู้เกี่ยวข้องมีความเข้าใจ และเตรียมตัวในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องให้ประสานสอดคล้องกัน การเตรียมงบประมาณรองรับให้ครอบคลุมค่าใช้จ่าย และคนที่จะดูแลระบบ และผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบและทำความเข้าใจด้วย
  2. การพัฒนาหรือจัดหาระบบเทคโนโลยีที่ต้องการนำมาเข้าใช้ จะต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบ โดยการพิจารณา วิเคราะห์และคัดเลือกด้วยวิธีการที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน และจัดหาผู้พัฒนาระบบและผู้ให้บริการที่จะปรับปรุงพัฒนาระบบที่จะนำมาบริหารจัดการ
  3. การเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสม มีความสำคัญต่อความสำเร็จและความล้มเหลวของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการบริหารจัดการมาก เช่น การเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ หรือบุคลากรขาดความรู้ เพราะเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมาก จึงจำเป็นต้องให้ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้พิจารณาร่วมกันกับบุคลากรของโรงเรียน
  4. การพัฒนาบุคลากรที่ควบคุมการใช้เทคโนโลยี เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องให้งานประสบผลสำเร็จและมีประสิทธิภาพ และใช้งานอย่างครบถ้วน
  5. การบำรุงรักษา ให้เหมาะสมกับความต้องการและการเปลี่ยนแปลงและสอดคล้องกับเทคโนโลยีสมัยใหม่
  6. การติดตาม ประเมินผล ควรประเมิน 2 ส่วนคือ ส่วนแรกต้องประเมินผลงานที่กำหนดไว้ในแผน และประเมินความพึงพอใจในการบริการ

6.9 การออกแบบ เครื่องมือวัด ประเมินผลการใช้นวัตกรรม

การประเมินนวัตกรรมการศึกษา เป็นกระบวนการในการตรวจสอบหรือพิจารณาตัดสินคุณลักษณะของนวัตกรรมการศึกษา เพื่อกำหนดคุณค่า คุณภาพ ความถูกต้อง ความเหมาะสม โดยใช้เกณฑ์การประเมินเป็นหลัก เพื่อการพัฒนาและแก้ไขปรับปรุงลักษณะการประเมินเป็นหลัก เพื่อการพัฒนาและแก้ไขปรับปรุงลักษณะการประเมินนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ

  1. การประเมินตนเองเป็นการประเมินระดับโรงเรียนที่ผู้คิดค้นพัฒนานวัตกรรมทั้งที่เป็นรายบุคคล หรือคณะบุคคล ดำเนินการประเมินโดยการตรวจสอบกระบวนการพัฒนาและความก้าวหน้าในการพัฒนานวัตกรรมของตนจากเกณฑ์การประเมินที่กำหนดเพื่อนำผลไปใช้ในการปรับปรังพัฒนาการดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการพัฒนานวัตกรรม
  2. การประเมินโดยคณะบุคคล เป็นการประเมินเพื่อพิจารณาคุรณภาพนวัตกรรม ซึ่งผู้ประเมินควรประกอบด้วย ผู้คิดค้นพัฒนานวัตกรรม ครู ผู้บริหารโรงเรียน ศึกษานิเทศก์ หรืออาจมีผู้เชี่ยวชาญ ตามลักษณะ หรือประเภทของนวัตกรรม ร่วมประเมินตามเกณฑ์ที่กำหนด

องค์ประกอบของการประเมินนวัตกรรมประกิอบด้วย 3 ด้าน 13 ตัวบ่งชี้ คือ

  1. องค์ประกอบด้านความเป็นนวัตกรรม มี 2 ตัวบ่งชี้ คือ

1.1 ความเป็นนวัตกรรม

1.2 ที่มาของนวัตกรรม

  1. องค์ประกอบด้านกระบวนการพัฒนานวัตกรรมมี 6 ตัวบ่งชี้ คือ

2.1 วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการพัฒนานวัตกรรม

2.2 หลักการแนวคิดทฤษฎีที่ใช้ในการพัฒนานวัตกรรม

2.3 การออกแบบวัตกรรม

2.4 การะบวนการพัฒนานวัตกรรม

2.5 การมีส่วนร่วมในการพัฒนานวัตกรรม

2.6 ความสำเร็จของการพัฒนานวัตกรรม

  1. คุณค่าของนวัตกรรม มี 6 ตัวบ่งชี้ คือ

3.1 การแก้ปัญหาหรือพัฒนาคุณภาพผู้เรียน

3.2 การใช้ทรัพยากรในการพัฒนานวัตกรรม

3.3 การเรียนรู้ร่วมกัน

3.4 การส่งเสริมให้เกิดกระบวนการแสวงหาความรู้

3.5 การยอมรับ

3.6 การนำไปใช้

6.10 การออกแบบ การนำนวัตกรรมไปใช้

การนำนวัตกรรมการเรียนรู้ไปใช้ประโยชน์ (Implication of Learning Innovation)

นวัตกรรมการเรียนรู้ ( learning innovation ) สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในวงการศึกษาสรุปได้ ดังนี้

1.เพื่อนำนวัตกรรมมาใช้แก้ปัญหาในเรื่องการเรียนการสอน เช่น

1.1 ปัญหาเรื่องวิธีการสอน ปัญหาที่มักพบอยู่เสมอ คือ ผู้สอนส่วนใหญ่ยังคงยึดรูปแบบการสอนแบบบรรยาย โดยมีครูเป็นศูนย์กลางมากกว่าการสอนในรูปแบบอื่น การสอนด้วยวิธีการแบบนี้เป็นการสอนที่ขาดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในบั้นปลาย เพราะนอกจากจะทำให้นักเรียนเกิดความเบื่อหน่ายขาดความสนใจแล้ว ยังเป็นการปิดกั้นความคิดและสติปัญญาของผู้เรียนให้อยู่ในขอบเขตจำกัดอีกด้วย

1.2 ปัญหาด้านเนื้อหาวิชาบางวิชาเนื้อหามากและบางวิชามีเนื้อหาเป็นนามธรรมยากแก่การเข้าใจ จึงจำเป็นจะต้องนำเทคนิคการสอนและสื่อมาช่วย

1.3 ปัญหาด้านการวัดและประเมินผล เช่น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำครูผู้สอนนำไปใช้ในการปรับกิจกรรมการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นหรือใช้ผลการประเมินเป็นข้อมูลย้อนกลับในการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนได้

1.4 ปัญหาเรื่องอุปกรณ์การสอน บางเนื้อหามีสื่อการสอนเป็นจำนวนน้อยไม่เพียงพอต่อการนำไปใช้เพื่อทำให้นักเรียนเกิดความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาวิชาได้ง่ายขึ้นจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาคิดค้นหาเทคนิควิธีการสอน และผลิตสื่อการสอนใหม่ ๆ เพื่อนำมาใช้ทำให้การเรียนการสอนบรรลุเป้าหมายได้

  1. เพื่อนำนวัตกรรมไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน การสร้างองค์ความรู้ใหม่ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาโดยการนำสิ่งประดิษฐ์หรือแนวความคิดใหม่ ๆ ในการเรียนการสอนนั้นเผยแพร่ไปสู่ครู – อาจารย์ท่านอื่นๆ หรือเพื่อเป็นตัวอย่างอีกรูปแบบหนึ่งให้กับครู – อาจารย์ที่สอนในวิชาเดียวกันได้นำแนวความคิดไปปรับปรุงใช้หรือผลิตสื่อการสอนใหม่ ๆ เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนต่อไป
  2. การนำนวัตกรรมไปใช้เป็นผลงานทางวิชาการ นวัตกรรมการเรียนรู้นอกจากจะเป็นประโยชน์ในด้านการปรับปรุงและพัฒนางานหรือการจัดการเรียนการสอนแล้ว ยังเป็นประโยชน์ ต่อการพัฒนาวิชาชีพอีกด้วย โดยผู้สร้างนวัตกรรมสามารถนำผลจากการนำนวัตกรรมไปใช้เป็นผลงานวิชาการเพื่อขอเลื่อนวิทยฐานะ หรือปรับตำแหน่งให้สูงขึ้นได้

6.11 การออกแบบ การวัด ประเมินผลการใช้นวัตกรรม

ประเมินผล ซึ่งควรมีหลักการพิจารณา 4 ประการ ดังนี้

  1. มีประสิทธิภาพ (Efficiency) หลังใช้นวัตกรรมการเรียนรู้แล้ว ผู้เรียนมีพฤติกรรมการเรียนรู้ตรงตามเป้าหมายที่หลักสูตรกำหนดไว้อย่างชัดเจน
  2. มีประสิทธิผล (Productivity) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นช่วยให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์การเรียนรู้ โดยผู้เรียนจำนวนมากหรือทุกคนเกิดพฤติกรรมการเรียนรู้ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้
  3. มีความประหยัด (Economy) นวัตกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นเมื่อนำมาใช้สอนแล้วมีความคุ้มค่ากับการลงทุน ทั้งด้านทุนทรัพย์ แรงงานและระยะเวลาที่สูญเสียไป ตลอดจนมีความคงทนถาวรไม่ชำรุดเสียหายง่าย ๆ
  4. มีคุณลักษณะที่ดี (Goodness) นวัตกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นต้องตรงกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน เหมาะสมกับกิจกรรมการเรียนรู้ เหมาะสมกับเนื้อหาวิชาใช้ง่ายสะดวกปลอดภัย ไม่สิ้นเปลืองประหยัดคุ้มค่า สามารถแก้ปัญหาข้อบกพร่องของเนื้อหาวิชาและสถานการณ์การเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี

6.12 การออกแบบ การเขียนรายงานการพัฒนานวัตกรรม

การเขียนรายงานผลการพัฒนานวัตกรรมแบ่งการเขียนออกเป็น 5 บท ดังนี้

บทที่ 1 บทนำ นำเสนอรายละเอียดตามหัวข้อต่อไปนี้

– ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

– วัตถุประสงค์ของการทดลอง

– สมมุติฐานของการทดลอง

– ขอบเขตของการทดลอง

– ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

– นิยามศัพท์

บทที่ 2 การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นำเสนอแนวคิด หลักการ ทฤษฎี และผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องที่นำมาใช้ในการพัฒนานวัตกรรม ดังนี้

– หลักการ แนวคิด ทฤษฎี ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนานวัตกรรม

– ผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนานวัตกรรม

– หลักการ แนวคิด ทฤษฎี และผลการวิจัยที่นำมาใช้พัฒนานวัตกรรมในกลุ่มสาระ/วิชาที่คิดค้นและสร้างนวัตกรรมการเรียนการสอน

บทที่ 3 วิธีดำเนินการสร้างและทดลองใช้นวัตกรรมการเรียนการสอน

– วัตถุประสงค์ของการทดลอง

– สมมุติฐานของการทดลอง

– ประชากรที่ใช้ในการทดลอง

– กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง

– นวัตกรรมและเครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง

– การสร้างนวัตกรรมและเครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง

– การดำเนินการทดลอง

– การวิเคราะห์ผลการทดลอง

– สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ผลการทดลอง

บทที่ 4 การวิเคราะห์ข้อมูลและผลการวิเคราะห์ข้อมูล

เป็นการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล โดยนำเสนอในรูปของตาราง กราฟ หรือบรรยาย ตามวัตถุประสงค์ของการทดลองที่กำหนดในบทที่ 1

บทที่ 5 การสรุปผล อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ

– สรุปผลการวิจัย นำเสนอวัตถุประสงค์ ขั้นตอนการดำเนินงาน และผลการวิจัยโดยสรุป ให้เห็นภาพของการดำเนินการสร้างและพัฒนานวัตกรรมตลอดแนว

– อภิปรายผลการวิจัย นำผลที่เกิดขึ้นจากการวิจัยมานำเสนอให้เห็นภาพรวมที่เป็นผลน่าพอใจ สิ่งที่เป็นข้อสังเกต โดยอ้างอิงหลักการ ทฤษฎีและผลการวิจัยที่สอดคล้องประกอบการอภิปรายอย่างเหมาะสม

– ข้อเสนอแนะ นำเสนอสิ่งที่ควรดำเนินการต่อเนื่อง หรือพัฒนาผลการวิจัยอย่างต่อเนื่อง ที่จะทำให้เกิดคุณภาพในการพัฒนาอย่างเด่นชัด

6.13 การออกแบบ การเผยแพร่นวัตกรรม

การเผยแพร่นวัตกรรมจะเป็นการศึกษาปัจจัย 5 ประการนี้ว่า มีผลอย่างไรและมีปฏิสัมพันธ์กันอย่างไร ในการส่งเสริมให้มีการยอมรับและใช้ผลผลิตของเทคโนโลยีการศึกษา

  1. Innovation หมายถึง ความคิดใหม่เทคนิควิธีการใหม่หรือสิ่งใหม่ที่สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ นวัตกรรมนั้นเป็นสิ่งที่สร้างความรู้เป็นของใหม่สำหรับกลุ่มผู้มีศักยภาพในการยอมรับนวัตกรรม กฤษมันต์ (2536, หน้า 104)
  2. Communication channels หมายถึง ช่องทางในการสื่อสาร ที่ใช้มากคือ การใช้สื่อสารมวลชน แต่การสื่อสารระหว่างบุคคลแบบปากต่อปากยังเป็นที่ยอมรับและใช้ได้ดีอยู่ ปัญหาคือการประเมินผลการใช้ช่องหรือสื่อเพื่อการเผยแพร่นั้น ยังไม่มีการศึกษาผลของการใช้อย่างมีระบบมากนัก ส่วนมากยังใช้การสำรวจความคิดเห็นจากผู้ใช้อยู่
  3. Time หมายถึง เวลาหรือเงื่อนไขของเวลา ในแต่ละขั้นตอนของการเผยแพร่และยอมรับอาจมีช่วงของเวลาในแต่ละขั้นแตกต่างกัน จำเป็นต้องมีการศึกษาและคาดการณ์ไว้สำหรับงานการเผยแพร่นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา

ผู้เขียน:

ใส่ความเห็น